วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

Posted by ไม่ระบุชื่อ on 20:01 with 1 comment

สำหรับมือใหม่ที่ต้องการเลี้ยงกระต่ายแต่ไม่ทราบว่ากระต่ายต้องเลี้ยงยังไง เพราะถ้าหากเลี้ยงผิดวิธีนั้น น้องกระต่ายจะป่วยและจากเราไป เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ตายง่ายมากๆ เราจึงต้องดูแลเอาใจใส่เขาให้มากๆ สักหน่อย เรามาดูข้อควรระวังสำหรับน้องๆ กันเลยดีกว่า

อาหาร กระต่ายที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน นั้นทางเราอยากแนะนำให้น้องๆ ได้กินแต่หญ้าขนหรือหญ้าแห้ง และ อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายเด็กก่อนนะค่ะ เพราะระบบในการย่อยของน้องยังไม่ค่อยดีเท่าไร
* เพราะถ้าเราให้น้องรับประทานอาหารมั่วๆ เช่น แตงโม แกงกวา หรือผักที่มีน้ำเยอะ จะทำให้น้องท้องเสีย และตายได้ง่ายนั้นเอง ส่วนมากกระต่ายจะท้องเสียง่ายมากๆ ข้อนี้สำคัญมากนะค่ะ เพราะถ้ากระต่ายท้องเสียแล้ว มีเปอร์เซนสูงมากๆ ที่น้องจะตายได้เพียงข้ามคืนค่ะ *

กัดกรงแทะกรง กระต่ายบางตัวอาจจะชอบกัดและแทะกรงกัน เป็นอย่างนั้นก็เพราะน้องเบื่อที่จะอยู่ในกรงค่ะ ให้นำเอาน้องออกมาปล่อยวิ่งเล่นบาง วันละ 3-4 ครั้ง ก็ได้ เพราะถ้าปล้อยให้เขาได้ออกมาวิ่งเล่นบางเราก็จะไม่ค่อยเครียดด้วย ส่วนมากน้องก็จะออกมาวิ่งเล่นสักพักและก็จะหามุมนอนของเขาเองค่ะ

ฝึกกระต่ายให้ใช้ห้องน้ำ มือใหม่หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าน้องกระต่ายสามารถฝึกนิสัยเขาให้สามารถใช้ห้องน้ำของกระต่ายได้นะค่ะ โดยการนำเอา อึหรือฉี่ของน้อง ไปใส่ไว้ในห้องน้ำ เพราะน้องจะจำกลิ่นอึและฉี่ของตัวเองได้ แล้วเขาก็จะมักไปอึและฉี่ที่ๆ เขาได้กลิ่นค่ะ ตัวนี้ต้องใช้เวลาฝึกกันสักหน่อยนะค่ะ

การอาบน้ำ ข้อนี้ไม่ค่อยแนะนำให้อาบน้ำให้น้องนะค่ะ หรือ ถ้าน้องๆ ซนจนสกปกติจริงๆ ให้นำเอาผ้าชุ่มน้ำมาค่อยๆ เช็ดตามขนของน้องแทนค่ะ หรือถ้าอยากอาบจริงๆ ควรเลือกวันที่อากาศร้อนจริงๆ นะค่ะค่อยนำน้องไปอาบน้ำได้ และก็ต้องเป่าขนของน้องให้แห้งด้วยนะค่ะ ไม่งั้นน้องอาจจะไม่สบายได้นั้นเอง

พยายามพูดคุยกับเขาบ่อยๆ ให้การที่เราพูดคุยกับน้องบ่อยๆ นั้นจะทำให้น้องคุ้นเคยกับเรา และช่วยเข้ามาเล่นกับเรานั้นเอง เราสามารถบอกห้ามสิ่งต่างๆ ที่น้องกำลังจะทำได้ด้วยนะค่ะ เช่นจะไปกัดสายไฟ ถ้าเราดุน้อง น้องก็จะวิ่งออกมาค่ะ ไม่กัด ตัวนี้สอนกันได้จริงๆ นะค่ะ กระต่ายของเราก็เป็นค่ะ อิอิ บอกห้ามทำนู้นนี้นั้นก็หยุดทำเลยแหละ

การให้น้ำ ควรให้เป็นขวดที่น้องสามารถเอาลิ้นไปแทะดื่มได้เลย ไม่แนะนำให้เอาเป็นถ้วยใส่น้ำนะค่ะ เพราะอาจจะมีอึหรือฉี่ของน้องอยู่ในนั้นได้

กระต่ายถ้าหากไม่อึ แนะนำให้ไปพบหมอได้เลยค่ะ ถ้าบ้านใครสามารถซื้อนมแพะมาได้ ก็แนะนำให้นำนมแกะมาให้น้องกินค่ะ (ห้ามนำนมวัวให้น้องกินนะค่ะ จะท้องเสียเอาได้) เพราะจช่วยให้น้องขับถ่ายได้ สังเกตุดูนะค่ะว่า ถ้าวันนึงน้องอึไม่ถึง 100 เม็ด นั้นแสดงว่าผิกปกติแล้วค่ะ หรืออีกวิธีเช็ตคือการไปลูบที่ท้องของน้อง ถ้าท้องออกป่องๆ แข็งๆ แสดงว่าท้องอืดค่ะ

วันนี้ก็ขอแนะนำหลักๆ กันเท่านี้ก่อนนะค่ะ เพราะจริงๆ อาจจะมีมากกว่านี้แต่แอดมินขี้เกียจพิมพ์แล้วจร้า 5 5 5+ รอติดตามบทความหน้านะค่ะ แต่ที่บอกไปนี้ก็ใช้ในชีวิตประจำวันของน้องๆ ที่เป็นกันบ่อยๆ ค่ะ เช่นท้องเสีย ไม่อึ ประมาณนี้ค่ะ
Posted by ไม่ระบุชื่อ on 08:25 with No comments
วิธีในการเลือกซื้อลูกกระต่าย เราควรที่จะต้องดูหลายๆอย่างค่ะ แต่ก่อนที่เพื่อนๆ จะตัดสินใจซื้อกระต่าย ควรจะดูก่อนว่ากระต่ายนั้น เหมาะกับเราหรือไม่ (ข้อนี้สำคัญมาก หากไม่เหมาะเราก้อจะทิ้งน้องเขาน่าสงสารนะ)

1. อันแรกเลย ต้องดูโดยรวมของที่เลี้ยงก่อน ว่ากระต่ายได้รับการดูแลจากร้านดีพอไหม เช่น ที่อยู่สกปรก หมักหมม มีกลิ่นเหม็น ขนเป็นสังกะตังหรือไม่ หากสภาพแวดล้อมไม่สะอาด เราไม่ควรจะซื้อค่ะ

2. ตรวจดูตัวกระต่าย ว่ามีบาดแผล สะเก็ด ขนร่วงหรือไม่

3. กระต่ายโดยเฉพาะพันธุ์ขนยาว ควรจะต้องสะอาด ได้รับการแปรงขนอย่างดี ไม่มีปรสิตตามขน

4. ตรวจดูบริเวณก้น ว่ามีท้องเสียหรือไม่

5. ตรวจดูบริเวณหูค่ะ ควรจะมีสีชมพู สะอาด ไม่มีคราบขี้หู หรือเชื้อรา

6. ตาจะต้องสดใส ไม่เป็นฝ้าขุ่น และขนแถวตาต้องไม่มีร่องรอยของน้ำตาเป็นคราบอยู่

7. ตรวจจมูก จะต้องไม่มีน้ำมูก หรือมีอาการหายใจลำบาก

8. ตรวจฟัน จะต้องไม่ยาว ต้องขบกันได้ไม่มีปัญหา ฟันยื่นฟันเอียง และต้องไม่มีน้ำลายเปียกแถวใต้คาง

9. สังเกตการเคลื่อนไหว ต้องไม่ติดขัด ขาไม่กระเผลก และต้องไม่มีอาการขาเป๋

10 สังเกตอาการตอบสนองของกระต่ายต่อคน หากกระต่ายที่ได้รับการเลี้ยงอย่างดี ดูแล เอาใจใส่มาอย่างดี จะไม่มีอาการหวาดกลัวคนมาก

11. หากกระต่ายตัวไหน มีพ่อแม่ที่ฟันเอียงเก ฟันยาว หรือขาแป อย่าซื้อมาเลี้ยงเพราะอาการเหล่านั้น สามารถถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมได้

12. พยายามซื้อลูกกระต่ายที่หย่านมแล้วค่ะ ผู้ขายบางคน จะชอบเอากระต่ายที่ยังเล็ก ยังไม่หย่านมดี เอามาขาย เพื่อหลอกว่าเป็นกระต่ายแคระค่ะ ซึ่งต้องระวังด้วย ถ้าจะให้ดี เราควรจะเลือกกระต่ายที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป

ที่มา : http://www.furerabbit.thaifasthost.com/untitled.html
Posted by ไม่ระบุชื่อ on 07:13 with 1 comment
ปกติแล้วสัตว์ที่มีขนเกือบทุกชนิดมักจะมีขนหลุดร่วงเป็นธรรมดา ถ้าหากเราใส่เสื้อสีดำก็จะมองเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าหากขนร่วงเยอะมากจนผิดปกติให้ดูจากสาเหตุหลักๆ ตามด้านล่างเลย

ขนร่วงแบบเป็นสะเก็ดคล้ายรังแค ผิวหนังมีสะเก็ดแผล หรือ ผิวหนังแดง นั้นอาจจะเกิดจากเชื่อราต้องนำกระต่ายไปหาหมอเพื่อหยดยา แต่ถ้าหากเป็นมากแนะนำให้ทายาแล้วใช้แชมพูสำหรับสัตว์เล็กอาบด้วย

อาการเครียด เมื่อกระต่ายของเราเครียดไม่ว่าจะเป็นเพราะอาการร้อนหรือเปลี่ยนที่อยู่ให้ก็จะทำให้กระต่ายของหลายๆ คนเกิดอาการเครียดและขนร่วงได้

อาหารการกิน อาหารการกินส่วนใหญ่จะเกิดกับกระต่ายที่กินแต่อาหารเม็ดที่มีคุณค่าของสารอาหารต่ำ วิธีรักษาคือ ให้เอาผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ให้กินวันละ 25-100 mg.

ระยะเวลาผลัดขน กระต่ายจะมีช่วงเวลาในการผลัดขนของตัวเองเมื่ออายุครบประมาณ 4 เดือนขึ้นไปเพื่อสร้างขนใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม หากพบขนในช่วงนี้ให้ค่อยๆ หวีขนก่อนอาบน้ำและหลังอาบน้ำก็จะช่วยผลัดขนเก่าออกไปได้เร็วยิ่งขึ้น

อาการของกระต่ายท้อง เนื่องจากมีฮอโมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงก็ให้เอาผักผลไม้ที่มีวิตามินซีให้กินก็จะช่วยได้ค่อยอย่างดี

อาการป่วย ถ้าหากกระต่ายของเราป่วยก็จะมีอาการขนร่วงเยอะนั่นเอง ให้สังเกตุดูที่ตาของน้อง ถ้าหากน้องมีขี้ตา หรือ กินอาหารน้อยลง ให้รีบนำน้องไปพบหมอด่วน อย่าปล่อยให้เกิน 2 วัน เป็นไปได้ควรนำไปพบหมอให้เร็วที่สุด

ทั้งหมดนี้ทางเว็บได้รวบรวมมาจากแหล่งความรู้แล้วนำมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านและศึกษากันนะค่ะ สำหรับกระต่ายใครที่มีอาการขนร่วงผิดปกติให้สังเกตุดูได้ตามแต่ละหัวข้อที่เขียนขึ้นมาได้เลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

Posted by ไม่ระบุชื่อ on 02:44 with 12 comments

กระต่ายท้องเสียนั้นจงจะหาหมอค่ะ ไม่แนะนำให้รักษาเอง ยกเว้นจะเป็นผู้ชำนาญอย่างสมาชิกบางคนในบ้านช่องโพรงกระต่ายหน่ะค่ะ  กระต่ายโตส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยท้องเสียจ๋า กระต่ายเด็กจะท้องเสียง่ายกว่ากระต่ายโตคะ

กระต่ายท้องเสียจำนวนมากจะจบชีวิตจากการขาดน้ำค่ะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในช่วงที่เราพยาบาลกระต่ายท้องเสียหรือรอเวลาไปหาหมอนั้นควรจะให้กระต่ายได้รับประทานน้ำค่ะ  ถ้ากระต่ายท้องเสียและหูเย็น บอกว่าเริ่มขาดน้ำมากแล้วค่ะ จำต้องให้น้ำจ้ะ

การทำให้กระต่ายไม่ขาดน้ำนั้นมีหลายวิธีขา

อันดับแรกก็คือการให้น้ำเกลือใต้ผิวหนัง อันนี้หมอคงให้ถ้ามีการขาดน้ำมาก อย่างไรตอนนำไปพบนายแพทย์ก็ลองขอความเห็นแพทย์ดูนะจ๋า ว่าเค้าขาดน้ำมากหรือเปล่า 

อันดับที่สองก็คือ การให้น้ำเกลือแร่ ที่ดีที่สุดก็คือการให้น้ำเกลือแร่ที่ทำสำหรับกระต่าย เช่น Bio-Lapis ของ Protexin ซึ่งคงต้องขอให้คุณแพทย์จ่ายให้ค่ะ แต่ถ้าไม่มี Bio-Lapis ก็สามารถให้น้ำเกลือแร่คนได้คะ รสธรรมดาดีที่สุด อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีก็รสไหนก็ได้คะ  เคยถามแพทย์ แพทย์บอกว่าผสมธรรมดาเหมือนที่ให้คนค่ะ ให้น้ำเกลือของเด็กจะดีกว่าแต่ถ้าไม่มีของผู้ใหญ่ก็ให้ได้ค่ะ ให้ทุกๆ ชั่วโมงคะ ให้ทีละหลายๆ มิลลิลิตรได้ค่ะ แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มี หรือไม่อยากใช้น้ำเกลือแร่ก็ใช้สูตรนี้ก็ได้จ้ะ

   น้ำเปล่าสะอาด 1 แก้ว
   น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
   ผงฟู 1/4; ช้อนชา
   เกลือ 3/16 ช้อนชา (เอาช้อน 1/4; ตักแล้วเอาออกไปนิดหน่อย หรือใช้ช้อน 1/8 แล้วตักพูนๆ)

สูตรนี้ผู้เพาะกระต่ายในต่างประเทศได้ลองใช้และพบว่าใช้ได้ผลดีคะ อันนี้ความคิดส่วนตัวคิดว่าน่าจะดีกว่าสูตรน้ำแดงเฮลส์บลูบอยนะคะ 

มีแพทย์คนเคยบอกว่าใช้เกลือกับน้ำตาลละลายน้ำก็ได้ค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าหาผงฟูไม่ได้ก็ใช้แต่เกลือกับน้ำตาลก็พอจะได้เหมือนคะ การใส่ผงฟูจะไปช่วยลดการเป็นกรดในระบบย่อยอาหาร เนื่องจากกระต่ายที่ท้องเสียจะมีกรดเยอะค่ะ

นอกจากการให้น้ำแล้ว ยังจะต้องให้อาหารด้วยขา งดผัก หมอบางคนอาจจะให้รับประทานผักต่อ แต่เราไม่แนะนำค่ะ กระต่ายท้องเสียไม่มีแรง และจะไม่อยากทานอะไรค่ะ และผักก็ยังอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียมากขึ้นได้คะ  หากว่าเป็นไปได้อยากให้ป้อน Critical Care ของ Oxbow ค่ะ

Critical Care ของ Oxbow นี้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ฟันแทะที่ป่วย กินไม่ได้ หรือพักฟื้นค่ะ เหมาะกระต่ายเป็นไข้โดยตรงทำจากหญ้าทิมโมธี และอื่นๆค่ะ ไม่ใช่ผงผักบดนะคะ แต่ถ้าหา Critical Care ไม่ได้จริงๆ ให้เป็นอาหารเม็ดผสมน้ำก็ได้ค่ะ อาหารเด็กอ่อนที่เป็นขวดๆ ยี่ห้อเกอร์เบอร์หรือยี่ห้ออื่นก็ให้ได้ค่ะ เคยอ่านในเว็ปมีคนบอกช่องทางให้ใช้รสกล้วย เนื่องจากในกล้วยมีโปแทสเซี่ยมค่ะ 

ถ้าหากไม่มี Critical Care อาหารกระต่ายป่วยสูตรนี้ก็น่าสนใจค่ะ ได้มาจากคุณ Laurie Stroupe ค่ะ

  อาหารเม็ด 3 ช้อนโต๊ะ
  น้ำเกลือแร่สำหรับเด็ก ครึ่งถ้วย
  ยาแก้ท้องอืดที่มีตัวยา Simethicone 2-3 หยด
  อาหารเด็กอ่อน ครึ่งขวด

ยาแก้ท้องอืดที่มีตัวยา Simethicone เท่าที่รู้มียี่ห้อ แอร์-เอ็กซ์ (Air-X), โอวอลดรอปส์ (Ovol drops), ดิสฟลาติล (Disflatyl), ไมลอมดรอปส์ (Mylom drops) แต่อาจจะมีมากกว่านี้ ถามหมอยาใกล้บ้านคุณๆได้ค่ะ

ในช่วงที่เค้าท้องเสียเค้าอาจจะเคร่งเครียดจากอาการท้องเสียมาก จนกระทั่งระบบย่อยอาหารหยุดทำงานและจะทำให้เค้าท้องอืดได้ ถึงแม้ว่าจะหายท้องเสียแล้วก็ตามค่ะ เมื่อกระต่ายท้องอืดจะปวดท้องค่ะ การที่เราให้ยาแก้ท้องอืดเป็นการป้องกันค่ะ

วิธีการให้อาหารโภชนาป้อนน้ำกระต่ายท้องเสีย หรือกระต่ายไม่สบาย ไม่ควรเอาใส่ขวดหรือใส่ถ้วยแล้ววางไว้ให้กระต่ายรับประทานเองนะคะ

อันนี้เป็นเรื่องความเป็นความตายเลยนะคะ เอาอาหารหรือน้ำใส่ไซริงค์แล้วป้อนค่ะ ไม่ใช่เอาไซริงค์ไปแหย่ๆ ปาก แล้วบอกว่าน้องไม่กิน น้องไม่ชอบ อันนี้ไม่ได้นะคะ ต้องอุ้ม ป้อน ไม่กินก็บังคับค่ะ เพื่อชีวิตเค้าค่ะ

ไม่ต้องกลัวกระต่ายโกรธเกลียดเลยนะคะ ปล่อยให้โกรธไปก่อน เดี๋ยวไปโอ๋กันทีหลังค่ะ ถ้าเค้าไม่ให้อุ้มก็เอาผ้ามาห่อค่ะ อย่าให้ดิ้นค่ะ บังคับให้ได้นะคะ 

เพราะว่าเรื่องของการทำความสะอาดกระต่าย อย่าเพิ่งอาบน้ำโดยเด็ดขาดค่ะ ให้เอาผ้าชุบน้ำเช็ด หรือล้างเป็นส่วนๆ ไป เช่น ล้างเฉพาะขา เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องตัดขนก็ตัดค่ะ เรื่องสวยเอาไว้ก่อนค่ะ ช่วงท้องเสียร่างกายเค้าอ่อนแอค่ะ ถ้าอาบน้ำจะมีโอกาสทำให้มีโรคแทรกได้ค่ะ

เครดิตรูป:  www.vs.mahidol.ac.th/hospital/index.php/article/70-rabbit

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
Copyright © สอนวิธีดูแลกระต่าย รักษากระต่ายป่วย กระต่ายท้องเสีย